• TH
  • EN/DE
THAI EMBASSY IN VIENNA
  • TH
  • EN/DE
logo mini
สถานเอกอัครราชทูต ณ​ กรุงเวียนนา
ROYAL THAI EMBASSY VIENNA
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
    • เกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูต
    • เอกอัครราชทูต
    • สารจากเอกอัครราชทูต
    • ทำเนียบทูต
    • ทีมประเทศไทย ณ กรุงเวียนนา
    • กงสุลกิตติมศักดิ์
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
    • ถามตอบเรื่องวีซ่า
    • เอกสารเดินทางคนต่างด้าว
    • ข้อมูลควรรู้
    • การมาทำงาน
    • การมาศึกษา
    • การฝึกงานที่สถานทูต
  • ข่าวและประกาศ
    • กิจกรรมสถานทูต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • บทความเกี่ยวกับประเทศไทย
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook
  • Home
  • ข่าวและประกาศ
  • กิจกรรมสถานทูต
  • ข่าวและประกาศ
  • กิจกรรมสถานทูต
Print

Thailand at the IAEA Ministerial Conference on Nuclear Safety

การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยนิวเคลียร์

alt  alt

On 21 June 2011, H.E. Mrs. Nongnuth Phetcharatana, Ambssador and Permanent Representative of Thailand to IAEA delivered the statement of the delegation of Thailand at the IAEA Ministerial Conference on Nuclear Safety. [Read the statement].

 

เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2554 นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูต และผู้แทนถาวรไทยประจำทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Agency) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องความ ปลอดภัยนิวเคลียร์ ในกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม  (อ่านถ้อยแถลงภาษาอังกฤษ)

สาระสำคัญของการประชุมดังกล่าวสรุปได้ว่า

1. ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA ได้แจ้งข้อเสนอ 5 ข้อสำหรับการกำหนดกรอบความปลอดภัยนิวเคลียร์ระหว่างประเทศในช่วงหลัง เหตุการณ์ฟูคุชิมะ ได้แก่ (1) การปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยนิวเคลียร์ของ IAEA และดำเนินการให้มีการบังคับใช้เป็นมาตรฐานสากล (2) ความจำเป็นในการตรวจสอบสถานะความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทุก แห่งอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ (3) การดำเนินการให้หน่วยกำกับดูแลด้านกฎระเบียบระดับชาติปฏิบัติหน้าที่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ได้รับ งปม.สนับสนุนอย่างเพียงพอและมีบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมครบถ้วน (4) ความจำเป็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการเตรียมความพร้อมและรอง รับเหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์ระดับโลก และ (5) การขยายบทบาทและอาณัติของ IAEA ในด้านการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคีลยร์ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1

2. ในช่วง working sessions ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วม การประชุมฯ ในสามหัวข้อหลัก ได้แก่ (1) ผลการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ฟูคุชิมะในเบื้อง ต้น ซึ่งได้อ้างอิงจากข้อมูลจากรายงานที่จัดทำโดย รบ.ญี่ปุ่นและผลการเยือนญี่ปุ่นของคณะผู้เชี่ยวชาญระหว่างปท. (IAEA International Fact Finding Expert Mission) (2) ระบบการเตรียมความพร้อมและรองรับเหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์ และ (3) กรอบความปลอดภัยนิวเคลียร์ระหว่าง ปท. ทั้งนี้ ประธานของแต่ละ session ได้รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จัดทำเป็นบทสรุป ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2

3. หลังจากนี้ IAEA จะจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับการดำเนินการต่อไปในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเจตนารมณ์ร่วมของทุกฝ่ายในการเสริมสร้างความ ปลอดภัยนิวเคลียร์ โดยมี IAEA เป็นองค์กรรับผิดชอบหลักและเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่าง ปท.ในด้านนี้

 

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
  • ข่าวและประกาศ
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook

(Header Photo) Copyright: digitalpress / 123RF Stock Photo

Copyright © 2009 - 2020, Royal Thai Embassy in Vienna. All Rights Reserved.

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
    • เกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูต
    • เอกอัครราชทูต
    • สารจากเอกอัครราชทูต
    • ทำเนียบทูต
    • ทีมประเทศไทย ณ กรุงเวียนนา
    • กงสุลกิตติมศักดิ์
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
    • ถามตอบเรื่องวีซ่า
    • เอกสารเดินทางคนต่างด้าว
    • ข้อมูลควรรู้
    • การมาทำงาน
    • การมาศึกษา
    • การฝึกงานที่สถานทูต
  • ข่าวและประกาศ
    • กิจกรรมสถานทูต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • บทความเกี่ยวกับประเทศไทย
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook