• TH
  • EN/DE
THAI EMBASSY IN VIENNA
  • TH
  • EN/DE
logo mini
สถานเอกอัครราชทูต ณ​ กรุงเวียนนา
ROYAL THAI EMBASSY VIENNA
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
    • เกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูต
    • เอกอัครราชทูต
    • ทำเนียบทูต
    • ทีมประเทศไทย ณ กรุงเวียนนา
    • กงสุลกิตติมศักดิ์
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
    • ถามตอบเรื่องวีซ่า
    • เอกสารเดินทางคนต่างด้าว
    • ข้อมูลควรรู้
    • การมาทำงาน
    • การมาศึกษา
    • การฝึกงานที่สถานทูต
  • ข่าวและประกาศ
    • กิจกรรมสถานทูต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • บทความเกี่ยวกับประเทศไทย
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook
  • Home
  • บริการอื่น ๆ
  • การทำหนังสือมอบอำนาจ
  • บริการกงสุล
Print

การทำหนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney) | ขอใบรับรองความประพฤติ (Police Clearance)

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจ/รับรองลายมือชื่อ คลิกที่นี่


1. ข้อมูลทั่วไป

  • การทำหนังสือมอบอำนาจในต่างประเทศ เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดว่า การทำหนังสือมอบอำนาจในต่างประเทศต้องให้กงสุลเป็นพยาน

การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปติดต่อสำนักงานเขต/อำเภอ เพื่อยื่นคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนราษฎร์นั้น สามารถดำเนินการได้เฉพาะเรื่องดังต่อไปนี้

    • ขอหนังสือรับรองความเป็นโสด (รับรองโสด)
    • ขอบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน) 

  • ขอบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

  • ขอเปลี่ยนชื่อตัว
    • ขอตั้งชื่อรอง
    • ขอตั้งชื่อสกุลใหม่
    • ขอคัดสำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
    • ขอคัดสำเนาใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการหย่า ทะเบียนการหย่า
    • ขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด
    • ขอแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนราษฏร์ ได้แก่ สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนบ้าน
  • ผู้ร้องสามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีอื่น ๆ ได้แก่
    • ขอหนังสือรับรองอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • ดำเนินการรับรองเอกสารต่าง ๆ ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
    • ดำเนินการรับรองเอกสารต่าง ๆ ที่สถานเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย
    • มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ
    • ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)
    • ซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินมายื่น)

2. เงื่อนไข

  • ผู้ขอทำหนังสือมอบอำนาจกับสถานเอกอัครราชทูตฯ จะต้องเป็นคนไทยที่มีถิ่นพำนักถาวรในออสเตรีย/สโลวาเกีย/สโลวีเนีย เท่านั้น
  • ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปี ขึ้นไป)
  • ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจตามที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนอย่างชัดเจน และต้องนำสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจมายื่นด้วย
  • ผู้ร้องต้องมาติดต่อด้วยตนเอง และลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุล ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ ไม่ว่ากรณีใด
  • ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ ต่อการติดต่อสถานที่ราชการในไทย 1 แห่ง (เช่นหากต้องติดต่ออำเภอ กรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรียในไทย ต้องทำหนังสือมอบอำนาจแยกกัน 3 ฉบับ)
  • ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือมอบอำนาจ 15 ยูโร ต่อการทำหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
  • *สำคัญ* สถานเอกอัครราขทูตฯ สงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการรับคำร้อง หากผู้ยื่นคำร้องมีเอกสารสำคัญไม่ครบถ้วน โดยผู้ยื่นคำร้องจะต้องนัดหมายเพื่อยื่นคำร้องใหม่ ดังนั้น กรุณาเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วนถามข้อ 3.2 ด้านล่าง

3. การขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา

3.1 นัดหมายเพื่อยื่นคำร้อง

  • กรุณานัดหมายเพื่อยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจ ทางออนไลน์ (สามารถนัดล่วงหน้าได้ไม่เกิน 2 เดือน) โดยคลิกที่นี่ -->> Book an appointment with Royal Thai Embassy, Vienna using Setmore
  • กรุณาพิมพ์ใบยืนยันการนัดหมายที่ท่านได้รับทางอีเมล หรือ save ไฟล์ / ถ่ายภาพใบยืนยันฯ ไว้ในมือถือ เพื่อนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันและเวลาที่นัดหมายไว้
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ เปิดรับคำร้องหนังสือเดินทาง จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 09:00-12:00 น. เฉพาะผู้ที่นัดหมายล่วงหน้าเท่านั้น 
  • หากท่านประสงค์ขอรับบริการกงสุลอื่น ๆ (เช่น ทำบัตรประจำตัวประชาชน) ในวันเดียวกัน กรุณาทำการนัดหมายแยกต่างหาก โดยเลือกวันนัดวันเดียวกัน และเลือกเวลารับบริการที่ใกล้เคียงกัน
  • หากมีปัญหาในการนัดหมายออนไลน์ กรุณาติดต่ออีเมล consular@thaiembassy.at หรือหมายเลข +43 (0) 1 4783335 19 / +43 (0) 1 4783335 21 (รับโทรศัพท์ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 14.00-17.00 น.)

3.2 เตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจให้ครบถ้วน ดังนี้

  1. ใบคำร้องนิติกรณ์ที่กรอกเสร็จแล้ว ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง คลิกที่นี่
  2. หนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ (ที่มีอายุใช้งาน) พร้อมสำเนา (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
  3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ที่มีอายุใช้งาน) พร้อมสำเนา (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
  4. สำเนาทะเบียนบ้านไทยของผู้มอบอำนาจ (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านออสเตรีย/สโลวาเกีย/สโลวีเนียของผู้มอบอำนาจ (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านไทย ของผู้รับมอบอำนาจ (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
  7. หลักฐานอื่นที่จำเป็น เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ฯลฯ พร้อมสำเนา (ดูวิธีนับจำนวนสำเนาด้านล่าง)
    • หากเป็นเอกสารที่ทางการออสเตรีย/สโลวาเกีย/สโลวีเนียออกให้ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการรับรองเอกสารให้ครบถ้วนก่อนที่จะสามารถนำไปใช้ประกอบหนังสือมอบอำนาจที่ประเทศไทยได้ กรุณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองเอกสารได้ คลิกที่นี่
  8. กรณีมอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ กรุณาเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (หากไม่มี ให้ใช้สำเนาสูติบัตร) 2 ชุด
    • สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเก่าของผู้เยาว์ (หากมี) 2 ชุด
    • สำเนาทะเบียนบ้านไทยของผู้เยาว์ 2 ชุด
  9. กรณีมอบอำนาจเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน กรุณาเตรียมฟอร์มมอบอำนาจของกรมที่ดิน (ท.ด. 21 หรือฟอร์มอื่น) ที่กรอกแล้วมาด้วย ดูตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับที่ดิน คลิกที่นี่
  10. ค่าธรรมเนียม
    • 15 ยูโร ต่อการมอบอำนาจ 1 รายการ (สำหรับการดำเนินการที่สถานที่ราชการในไทย 1 แห่ง)
    • ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น

*สำคัญ* ต้องเตรียมสำเนาเอกสารกี่ชุด?

  • 1 ชุด สำหรับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา เก็บไว้เป็นหลักฐาน *และ*
  • บวกเพิ่มอีกตามจำนวนสถานที่ราชการที่ต้องการไปติดต่อในไทย แห่งละ 1 ชุด
  • เช่น หากต้องไปดำเนินการที่อำเภอ (1 แห่ง) กรมการกงสุล กรุงเทพฯ (1 แห่ง) และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรียที่กรุงเทพ (1 แห่ง) ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ 3 ฉบับ ดังนั้น จึงต้องเตรียมสำเนาเอกสารประกอบคำร้องรวมทั้งหมด 4 ชุด แบ่งเป็น 1 ชุด (สำหรับ สอท. ณ กรุงเวียนนา) + 1 ชุด (สำหรับอำเภอ) + 1 ชุด (สำหรับกรมการกงสุล กรุงเทพฯ) + 1 ชุด (สำหรับสอท. ออสเตรีย กรุงเทพฯ) 
  • ในสำเนาเอกสาร ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น

3.3 การทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อขอหนังสือรับรองความประพฤติ หรือประวัติอาชญากรรม

  • ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องพร้อมเอกสารตามรายการที่ปรากฏในข้อ 3.2 ข้างต้น แต่เพิ่มสำเนาเป็น 4 ชุด สำหรับทุกรายการ (1 ชุดสำหรับ สอท. ณ กรุงเวียนนา + 1 ชุด สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ + 1 ชุด สำหรับกรมการกงสุล  + 1 ชุดสำหรับ สอท. ออสเตรียในประเทศไทย) พร้อมด้วยรูปถ่าย (เหมือนกันทุกรูป) ขนาด 4 x 6 ซม. 3 ใบ
  • แบบพิมพ์ลายนิ้วมือ กรณีใช้เพื่อตรวจสอบประวัติในต่างประเทศ ดาวน์โหลดได้ที่ http:\\www.shorturl.at/cdesI โดยสามารถนำแบบฟอร์มนี้ไปพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สำนักงานตำรวจของออสเตรีย/สโลวีเนีย/สโลวาเกีย
  • แบบบันทึกสอบสวน ดาวน์โหลดแบบบันทึกสอบสวน คลิกที่นี่
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีสมรส)
  • สำเนาหลักฐานทางทหาร (สด.9 / สด.43) ถ้ามี
  • ค่าธรรมเนียม 90 ยูโร แบ่งเป็น
    • ค่าทำหนังสือมอบอำนาจ 3 ฉบับ สำหรับการติดต่อ 3 หน่วยงาน ได้แก่ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการกงสุล และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย / 45 ยูโร
    • ค่านิติกรณ์ 3 รายการในแบบพิมพ์ลายนิ้วมือ / 45 ยูโร

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา
1 มีนาคม 2564

งานกงสุล

  • หนังสือเดินทาง
  • การรับรองนิติกรณ์
  • การทำบัตรประชาชน
  • งานทะเบียน
    • สมรส
    • หย่า
    • การแจ้งเกิด
    • การแจ้งตาย
  • บริการอื่น ๆ
    • การทำหนังสือมอบอำนาจ
    • เกณฑ์ทหาร
    • สละสัญชาติ
    • ที่ดิน
    • การส่งอัฐิ
  • ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
  • การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
  • เวลาทำการและวันหยุด 2566
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
  • ข่าวและประกาศ
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook

(Header Photo) Copyright: digitalpress / 123RF Stock Photo

Copyright © 2009 - 2020, Royal Thai Embassy in Vienna. All Rights Reserved.

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับสถานทูต
    • เกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูต
    • เอกอัครราชทูต
    • ทำเนียบทูต
    • ทีมประเทศไทย ณ กรุงเวียนนา
    • กงสุลกิตติมศักดิ์
  • บริการกงสุล
  • ข้อควรรู้ในการเดินทาง/พำนักอาศัย
    • ถามตอบเรื่องวีซ่า
    • เอกสารเดินทางคนต่างด้าว
    • ข้อมูลควรรู้
    • การมาทำงาน
    • การมาศึกษา
    • การฝึกงานที่สถานทูต
  • ข่าวและประกาศ
    • กิจกรรมสถานทูต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • บทความเกี่ยวกับประเทศไทย
  • ความสัมพันธ์ทวิภาคี
  • ติดต่อเรา
  • Facebook